คณะกรรมการยูโรเปียนหรือ EU Commissioner ได้ประกาศว่ามีแผนจะบังคับให้ smartphone และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ต้องสามารนถชาร์ตด้วย USB-C ได้ ซึ่งร่างข้อเสนอนี้มีผลกระทบอย่างมากกับบริษัท Apple เพราะตัว Apple เองเลือกที่จะผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ lighting port ของตัวเอง ไม่เหมือนกับเหล่าคู่แข่งที่มีอุปกรณ์ที่ใช้ USB-C ได้ โดยข้อเสนอนี้เกิดขึ้นเพื่อลดขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้สายชาร์ตเดิมกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยที่เวลาซื้ออุปกรณ์ใหม่จะไม่มีที่ชาร์ตใส่มาด้วย
นอกจาก smartphone แล้ว กฏนี้ยังต้องถูกบังคับใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึง tablet หูฟัง เครื่องเสียงพกพา เกมคอนโซล และกล้องด้วย โดยกฏจะบังคับให้ภาคการผลิตต้องทำให้สามารถใช้ fast charging ได้ด้วย และต้องบอกข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์สำหรับใช้ชาร์ตที่ใช้ร่วมกันได้ด้วย และถ้าข้อเสนอนี้สำเร็จ จะทำให้เวลาที่ลูกค้าจะซื้ออุปกรณ์ใหม่ๆ จะไม่มีที่ชาร์ตแถมมาด้วย
แต่ในร่างข้อเสนอนี้จะครอบคลุมเฉพาะอุปกรณ์ที่ชาร์ตผ่านสายเท่านั้น จะยังไม่รวมถึงอุปกรณ์ที่ชาร์ตแบบไร้สายได้ EU Comissionner ยังบอกอีกว่า USB-C คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องใช้สายชาร์ต แต่ถ้าอุปกรณ์นั้นชาร์ตแบบไร้สายได้จะไม่ถูกบังคับว่าต้องมีพอร์ต USB-C
การที่ข้อเสนอนี้จะผ่านไปเป็นกฏหมายได้นั้นจะต้องได้รับการโหวตจากสมาชิกรัฐสภาของยุโรป ซึ่งถ้าผ่าน ภาคการผลิตของโรงงานต่างๆ จะมีเวลา 24 เดือน ในการปรับรูปแบบการผลิต
แน่นอนว่าเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อทา่ง Apple เพราะ Apple เลือกที่จะผลิต smartphone โดยมีแค่พอร์ต Lighting เท่านั้น ซึ่งจากข้อมูลระบุว่า ในยุโรปปี 2018 smartphone ถูกขายมี 29% ที่ใช้ USB-C มี 21% ที่ใช้พอร์ต Lighting และส่วนที่เหลือคือ Micro-USB
Apple รู้สึกไม่เห็นด้วยกับ ข้อเสนอร่างกฏหมายนี้ อีกทั้งยังบอกว่า มีความกังวลเกี่ยวกับร่างกฏหมายนี้ ว่าอาจจะเป็นร่างกฏหมายที่เข้มงวดเกินไปสำหรับการสร้างนวัตกรรม และยังร่วมปฏิเสธร่างกฏหมายนี้ด้วย เพราะมองว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นการเพิ่มขยะอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากผู้คนอาจจะต้องทิ้งอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ต Lighting ไป เนื่องจากว่ามันใช้กับอุปกรณ์อื่นไม่ได้แล้ว
แม้ว่าจะมีการใช้ Lighting ต่อไปเรื่อยๆ Apple ก็ได้เริ่มที่จะช่วยลดขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ด้วยการที่ปี 2020 Apple ไม่ได้แถมตัวปลั๊กสำหรับชาร์ตให้และไม่ได้แถมหูฟังให้ด้วย สำหรับลูกค้าที่ซื้อ iPhone แต่จะมีเพียงสายแปลง Lighting เป็น USB-C เท่านั้น ซึ่งบางกระแสตอบรับมองว่า นั้นคือการลดต้นทุน ไม่ใช่การช่วยเกี่ยวกับการลดขยะ
ที่มา The Verge